E-Library >
‘ความเป็นเป็ด’ ดีอย่างไร? หลายคนคงเคยคิดว่าทำไมเราไม่เก่งด้านไหนเลย ทำได้เกือบทุกอย่าง อย่างละนิดอย่างละหน่อย หรือที่เรียกว่า ‘เป็ด’ และหลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นเป็ด คงเคยนึกน้อยใจเหมือนกันที่ตัวเองไม่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเลยสักด้าน หรือคำกล่าวที่ว่าถ้าต้องการพัฒนาทักษะในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรี หรืออยากเก่งเรื่องกีฬา ควรเริ่มทำมันเสียตั้งแต่เนิ่นๆ มุ่งเน้นการฝึกฝนอย่างเข้มข้น ทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าเริ่มต้นช้ากว่าเพื่อน คุณอาจจะไม่มีโอกาสไล่ตามคนที่เริ่มต้นเร็วได้ทัน แต่ถ้าลองพินิจพิจารณาอย่างละเอียดแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬามืออาชีพไปจนถึงผู้ได้รางวัลโนเบล ความเป็น Specialist หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น อาจไม่ได้จำเป็นเสมอไป… เพราะจริงๆ แล้วการรู้หลายด้านนั้น เป็น ‘ข้อได้เปรียบ’ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น ‘ชัยชนะ’ เลยก็ว่าได้! “วิชารู้รอบ” โดยเดวิด เอปสตีน ผู้เขียนเดียวกับยอดมนุษย์นักกีฬา (The Sports Gene) เป็นนักเขียนอาวุโสมือรางวัล ที่จะอธิบายให้คุณเข้าใจว่า การที่เรามีทักษะรอบด้าน ที่สั่งสมผ่านการทำสิ่งที่แตกต่างกันไปใน ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เรามองว่ามันต่างกันสุดขั้ว แต่ทักษะหลากแขนงเหล่านั้น อาจมาประสานรวมกันทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ในที่สุด เอปสตีนพูดถึง นักวิทยาศาสตร์ที่มีงานอดิเรกอยู่นอกวงการอาชีพของตัวเอง มีแนวโน้มที่จะได้รับรางวัลโนเบลมากกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจอยู่กับหัวข้อแคบๆ นั้นหลายเท่า หรือแม้แต่‘สตีฟ จ็อบส์’ ที่เคยปาฐกถาไว้ว่าการเรียนวิชาอักษรวิจิตร มีผลอย่างมากต่องานออกแบบของเขา ซึ่งดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยีเลยก็ตาม แล้วคุณได้เห็นว่าการรู้รอบด้าน มีชัยเหนือการรู้ลึกในเรื่องเดียวใน “วิชารู้รอบ” นี่คือหนังสือที่บิลล์ เกตส์ แนะนำให้อ่านประจำปี 2020! และยังเป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งแห่ง New York Times อีกด้วย!